Pa Phra Bodha Wat Pra Yeun Tambon Vieng Yong, Mueng, Lumphun

Post on 23-Jul-2016

225 views 2 download

description

ภาพจิตรกรรมผ้าพระบฏ วัดพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Transcript of Pa Phra Bodha Wat Pra Yeun Tambon Vieng Yong, Mueng, Lumphun

ภาพจิตรกรรมผ้าพระบฏ วัดพระยืน

ต�าบลเวียงยอง อ�าเภอเมือง จังหวัดล�าพูนสุรักษ์กุล ช่วยเยียวยา

ภาพจิตรกรรมผ้าพระบฏ วัดพระยืน ต�าบลเวียงยอง อ�าเภอเมือง จังหวัดล�าพูน

สุรักษ์กุล ช่วยเยียวยา

วัดพระยืน

วัดพระยืน มีชื่อเดิมว่า “วัดอรัญญิการาม” มีฐานะเป็นวัดประจ�าทิศตะวันออกในบรรดา “วัดสี่มุมเมือง” ที่พระแม่เจ้าจามเทวีทรงโปรดสร้างขึ้นในพ.ศ.1213 เพื่อให้เป็นที่จ�าพรรษาของพระสังฆเถระที่ติดตามมาจากเมืองละโว้ในช่วงเวลา-แรกของการเสด็จขึ้นครองหริภุญชัย

ผ้าพระบฏ

พระบฏ หมายถึง ผืนผ้าขนาดยาวที่เขียนภาพพระพุทธเจ้า พุทธประวัติ หรือทศชาติชาดก แขวนหรือห้อยอยู่ในอุโบสถ วิหาร หรือศาลาการเปรียญ มีขนาดแตกต่างกันไป ตามคติและความนิยมในแต่ละยุคสมัย พระบฏในคติเดิมมักจะเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนพระองค์เดียวหรือมีพระอัครสาวกขนาบข้าง ต่อมาได้เริ่มมีการปรากฏภาพเล่าเรื่องพระพุทธประวัติ ในระยะหลังรูปแบบของพระบฏจากผืนผ้าขนาดยาว ได้เหลือเพียงผืนผ้าขนาด 50x50 เซนติเมตรโดยประมาณ เล่าเรื่องจบเป็นตอนๆ เรื่องที่นิยมได้แก่พระเวสสันดรชาดก

ลักษณะเด่นของพระบฏ วัดพระยืน

พระบฏในวัดพระยืนทีจ�านวณ 25 ผืน มี 2 เรื่องเรื่องที่ 1 คือเรื่องพระมาลัย จ�านวณ 2 ผืน เรื่องที่ 2 คือเรื่องพระเวสสันดรชาดกจ�านวณ 23 ผืนพระบฏ มีขนาด กว้าง 84 – 90 เซนติเมตร ยาว 135.5 เซนติเมตร

เป็นการเขียนจิตรกรรมบนผ้าฝ้ายขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการแบ่ง 2 ส่วน ส่วนด้านบนมีการตีกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อวาดเนื้อเรื่องภาย ในภาพเนื้อเรื่องนั้น มีการใช้พื้นดิน ทิวเขาเพื่อเป็นการแบ่งเรื่องราว ส่วนด้านล่างมีการวาด “กรวยเชิง” หรือ “กรุยเชิง” ห้อยลงมาเพื่อเป็นการตกแต่ง ซึ่งแต่ละผืนนั้นได้มีลวดลายที่แตกต่างกัน และมีการใช้สีสันที่สดใส มีการใช้สีแดงในการตัดเส้นตัวละครที่เป็นตัวละครวรรณกษัตริย์ และมีการใช้สีด�าตัดเส้นตัวละครสามัญชน ในพระบฏแต่ละผืนสามารถเล่าได้หลายเหตุการณ์ โดยจัดวางล�าดับไม่แน่นอน

กรวยเชิงหรือกรุยเชิง

5

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 1 พระมาลัย ผืนที่ 1

พระมาลัยได้รับการถวายดอกไม้จากบุรุษท่านหนึ่ง ณ ที่หน้าอาศรมของสตร ีที่อยู่กับบุตรหลังหนึ่ง เมื่อพระมาลัยได้รับดอกไม้จึงเหาะขึ้นไปบนสวรรค์

6

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 2 พระมาลัย ผืนที่ 2

บนสวรรค์ตรงกลางเป็นเจดีพระจุฬามณี มีเทพยาดามากมายที่น�าดอกไม้มาถวาย ส่วนด้านล่างเป็นพระมาลัยก�าลังเสวนาเกี่ยวกับเรื่องการสร้างบุญกุศล

7

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 3 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ ผืนที่ 1

พระนางผุสดีไปประพาสพระนครและทรงประสูติพระราชาโอรสพระนามว่า “เวสสันดร”

8

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 4 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ ผืนที่ 2

พระเวสสันดรทรงได้ขึ้นครองราชย์และได้อภิเษกกับพระนางมัทรี ทรงมีพระธิดา พระนามว่า “กันหา” และพระโอรสพระนามว่า “ชาลี”

9

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 5 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ ผืนที่ 3

พราหมณ์ทั้ง 8 จาเมืองกลิงครัฐ ทูลขอ “ช้างปัจจัยนาเคนทร์” ช้างเผือคู่บรามีของพระเวสสันดร

10

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 6 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ ผืนที่ 4

พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ขี่ช้างกลับเมืองกลิงครัฐ ช่วงตรงกลางของภาพเล่าถึง บรรดาชาวบ้านได้ตามช้างแก้วที่พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ขี่ไป

11

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 7 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 3 กัณฑ์ทานกัณฑ์ ผืนที่ 1

พระเจ้ากรุงสัญชัย จ�าต้องเนรเทศพระเวสสันดรเนื่องจากพระเวสสันดรยกช้างปัจจัยนาเคนทร์ ช้างคู่บ้านคู่เมืองให้เมืองอื่น พระเวสสันดรทูลลาพระบิดาและพระมารดา

12

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 8 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 3 กัณฑ์ทานกัณฑ์ ผืนที่ 2

พระเวสสันดรประทานรถ แล้วเสด็จมุ่งสู่ป่าเขาคีรีวงกต

13

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 9 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์วนประเวศน์ ภาพที่ 2

พระเวสสันดรเสร็จถึงเมืองเจตรัฐ โดยมีเจ้าเมืองต้อนรับเป็นอย่างดี

14

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 10 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์วนประเวศน์ ภาพที่ 3

มุมขวาบนของภาพ แสดงภาพตอน พระเวสสันดรก�าลังจะเข้าป่าและได้มอบของให้กับพรานเจตบุตร มุมซ้ายบนของภาพแสดงภาพตอน พระนางมัทรีก้มกราบพระเวสสันดรเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่มของนักบวช ด้านล่างของภาพแสดงภาพ ตอนพระเวสสันดรและ 2กุมารประทับอยู่ที่อาศรมที่พระเวสสุกรรมได้เนรมิตให้

15

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 11 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก ผืนที่ 1

ชูชกได้เดินทางไปทวงเงินที่ฝากไว้ที่บ้านของคนรู้จัก ด้านล่างแสดงตอนที ่นางอมิตาดาไปตักน�้า แต่ผู้กลุ่มผู้หญิงรุมประมาณด้วยความริษยาที่นางปฏิบัติต่อสามีดี

16

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 12 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก ภาพที่ 2

ด้านบนของภาพได้แสดงตอนที่บรรดาชาวบ้านต่างพากันขับไล่ชูชก ส่วนด้านล่างของภาพได้แสดงตอนชูชกเจอสุนัขของเจตบุตรที่อารักขาป่าไล่ต้อนจนต้องวิ่งขึ้นต้นไม้

17

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 13 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 6 กัณฑ์จุลพน

ชูชกได้พบพรานเจตบุตร และได้ใช้กลอุบายหลอกพรานเจตบุตรให้บอกทาง ไปหาพรเวสสันดร

18

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 14 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 7 กัณฑ์มหาพน

ชูชกเดินทางไปพบอัจจุตฤาษี แล้วได้อุบายแก่พระฤาษีว่าตนเป็นกัลยามิตร ของพระเวสสันดร เพื่อให้อัจจุตฤาษีบอกทางไปอาศรมของพระเวสสันดร

19

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 15 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร ผืนที่ 1

ชูชกเข้าไปยังบริเวณอาศรม เข้าเฝ้าพระเวสสันดรเพื่อของปิยบุตรไปช่วยงานบ้าน ส่วนพระเวสสันดรนั้นได้จับแขนของชาลีไว้ไม่ให้หนีไปไหน ด้านบนของภาพ แสดงตอนชูชกใช้เชือกมัดชาลีและกัณหารที่ก�าลร�่าไห้ออกจากป่า

20

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 16 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร ผืนที่ 2

ชูชกก�าลังพา 2 กุมารออกจากป่า มีการพักระหว่างทาง ชูชกนั้นได้เอาตัวรอดโดยการขึ้นหนีนอนบนต้นไม้เพราะตอนกลางคืนในป่าล้วนเต็มไปด้วยสัตว์นักล่า ด้วยบุญญาธิการของ 2 กุมารจึงมีเทพคอยปกป้องยามนิทรา ด้างล่างของภาพ 2 กุมารพยายามหนีชูชกที่ก�าลังหลับ

21

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 17 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร ผืนที่ 3

ชูชกก�าลังพา 2 กุมารออกจากป่า มีการพักระหว่างทาง ชูชกนั้นได้เอาตัวรอดโดยการขึ้นหนีนอนบนต้นไม้เพราะตอนกลางคืนในป่าล้วนเต็มไปด้วยสัตว์นักล่า ด้วยบุญญาธิการของ 2 กุมารจึงมีเทพคอยปกป้องยามนิทรา

22

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 18 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี

ภาพได้แสดงตอนในทางกลับอาศรม พระนางมัทรีได้เจอกับ 2 เสือ 3 สัตว์ ที่เหล่าเทพยดาสามองค์ได้แปลงกายเพื่อกันไม่ให้พระนางมัทรีกลับไปขวางการท�าทานบรามีของพระเวสสันดรนอนขวางทางไว้ ด้านล่างภาพแสดงตอนที่พระเวสสันดรปลอบพระนางมัทรีที่เป็นลมไป เมื่อรู้ว่าชูชก ได้น�า 2 กุมารไปเสียแล้ว

23

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 19 ภาพพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์สักบรรพ

มีบุรุษมาขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรทรงยินดีบริจาคทานบุรุษผู้ที่มาขอพระนางมัทรีเมื่อได้กลับไม่ได้รับพระนางมัทรีไป แต่ถวาย พระนางมัทรีคืนและแปลงกายกลับเป็นพระอินทร์ โดยห้ามให้พระเวสสันดรถวายพระนางมัทรีให้กับผู้ใดอีก พระอินทร์ได้เหาะกลับไปยังสวรรค์

24

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 20 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช ผืนที่ 1

ทั้ง 2 กุมารได้รับการไถ่ตัวจากชูชกและได้รับการปลอบขว�ญโดย พระอัยกาและพระอัยยิกา

25

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 21 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช ผืนที่ 2

ชูชกเสวยสุขในปราสาท ท่ามกลางข้าราชบริพาร ด้านซ้ายบนของภาพได้แสดงตอนที่ชูชกป่วยจนถึงแก่ความตายและภาพด้านล่างพระเจ้าสัญชัยโปรดจัดพิธีศพให้กับชูชก

26

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 22 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช ผืนที่ 3

พระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดีเสร็จออกไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรีที่ป่า ภายในภาพแสดงถึงความเร็วลม โดยสังเกตจากผ้าและปลายฉัตรที่เอนไปทางด้านหลัง

27

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 23 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 12 กัณฑ์ฉกษัติย์

พระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดีได้พบกับพระเวสสันดรและ พระนางมัทรี พระเวทสสันดรได้ก้มกราบพระเจ้าสัญชัย ส่วนพระนางมัทรีได้ก้มกราบพระนางผุสดี และด้านขอบบนสุดของภาพ มีพระอินทร์โบกขรพรรษ ทั้ง 6 พระองค์อยู่พร้อมกัน พระเวสสันดรทรงเครื่องใหญ่ลาผนวช

28

ภาพพระบฏ วัดพระยืน ล�าพูน

ผืนที่ 24 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 13กัณฑ์นครกัณฑ์ ภาพที่ 1

เนื้อเรื่องในพระบฏผืนนี้ได้แสดงตอนที่ขบวนกองทัพ น�าขบวณพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับเมืองสีพี ตัวละครในภาพเป็นทั้งชาวบ้านและนักรับที่มีความหลากหลายในการแต่งกาย ทั้งการต้องการแบบชาวเขา,แบบล้านนาสังเกตจากต้นขาที่มีการสับหมึก และการแต่งกลางแบบภาคกลางที่มีการนุ่งเสื้อ สวมหมวก และนุ่งโจงกระเบน

29

ภาพพระบฏ วัดพระยืน จังหวัดล�าพูน

ผืนที่ 25 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 13 กัณฑ์นครกัณฑ์ ภาพที่ 2

เนื้อเรื่องในพระบฏผืนนี้ได้แสดงตอนที่กองขบวนพระเวสสันดรกลับเมือง พระเวสสันดรทรงราชูปโภคแบบกษัตริย์ ทรงอยู่บนช้างเผือกคู่บรามี “ปัจจัยนาเคนทร์” ที่กษัตริย์เมืองกลิงนครน�ามาคืน มีฉัตร 4 ชั้น ส่วนตัวละคร ที่ทรงช้างถัดจากพระเวสสันดรคาดว่าได้แก่ ชาลีกุมารและพระเจ้าสัญชัย

ภาพจิตรกรรมผ้าพระบฏ วัดพระยืน

ต�าบลเวียงยอง อ�าเภอเมือง จังหวัดล�าพูน

© 2015 (พ.ศ. 2558) โดย สุรักษ์กุล ช่วยเยียวยา

สงวนลิขสิทธิ์

พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558

จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรียบเรียงและออกแบบโดย สุรักษ์กุล ช่วยเยียวยา

ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK 16 pt และ TH Charmonman 30 pt

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา

ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่